วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557

ประวัติตุงล้านนา

ประวัติตุงล้านนา


“ตุง” คืออะไร
“ตุง” หรือ “จ่อ” เป็นภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือ ที่ชาวล้านนาใช้เรียกชื่อลักษณะของ “ธง” ชนิดหนึ่ง ตรงกับภาษาบาลี คำว่า “ปฎาก” หรือ “ปฎากะ” มีความหมายว่า “ธงตะขาบ”  มีลักษณะเป็นผ้าหรือกระดาษผืนยาวตกแต่งลวดลายและสีสันแตกต่างกันไปตามประเภทการใช้งาน และนำไปผูกติดไว้กับปลายไม้หรือเสาตุงซึ่งมีหลายขนาด

เมืองหริภุญชัยในอดีต สมัยที่มีกำแพงเมืองโบราณที่สมบูรณ์
ประวัติความเป็นมา1 (อ้างอิงแหล่งที่มาของตุง)
มีตำนานกล่าวอ้างถึงเมื่อครั้งสมัยหริภุญชัย ในช่วงทศวรรษที่ 17 พบว่าเมืองหริภุญชัยเคยเกิดอหิวาตกโรคระบาดอย่างหนัก ผู้คนในเมืองต่างพากันหนีไปอาศัยที่เมืองสะเทิง(มอญ) เมื่ออหิวาตกโรคหายไปชาวเมืองจึงกลับมาอาศัยอยู่ที่เดิม นักประวัติศาสตร์จึงคาดการณ์ว่า วัฒนธรรมการถวายตุงที่มีเสาหงส์นั้น ชาวหริภุญชัยอาจจะรับมาจากชาวมอญมาด้วย ซึ่งเราพบว่าหงส์แบบล้านนามีความสำคัญมาก มีหลักฐานปรากฏเป็นส่วนประกอบกับตุงล้านนาชนิดหนึ่ง คือ “ตุงกระด้าง” ซึ่งมีลักษณะรูปทรงเหมือนกัน และลักษณะธงตะขาบของชาวรามัญ(มอญ) ก็มีความคล้ายคลึงกับ “ตุงไชย”(ตุงไจย) ของชาวล้านนาด้วยเช่นกัน


วัดพระธาตุดอยตุง
ประวัติความเป็นมา2 (อ้างอิงความเชื่อทางพุทธศาสนา)
ภูมิหลังประวัติความเป็นมาของตุง พระพุทธศาสนามีอิทธิพล ความเชื่อของคนเมืองเป็นอย่างมาก คนเมือง คนยอง คนลื้อ คนเขินและมอญ ต่างนับถือศาสนาพุทธเดียวกัน มีวิถีชีวิตเดียวกันคือ วิถีชาวพุทธเชื่อว่า การทำตุงถวายเป็นพุทธบูชา เป็นสิ่งปรารถนาสูงสุด ได้บุญกุศลยิ่งใหญ่ซึ่งจะนำพาตนเองขึ้นสวรรค์ เพราะตุง เป็นปฐมเจดีย์แห่งแรก ในล้านนาหรือคนเมืองเหนือ มีชื่อเรียกว่า พระบรมธาตุดอยตุง  ซึ่งเดิมสถานที่ตั้งพระบรมธาตุดอยตุง มีชื่อว่า ดอยดินแดง อยู่บน เขาสามเส้น ของพวกลาวจก ต่อมาสมัยพระเจ้าอุชุตะราช รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์สิงหนวัต ผู้ครองนครโยนก นาคนคร เมื่อปี พ.ศ. 1452 พระมหากัสสป ได้นำพระบรมสารีริกธาตุในส่วนของพระรากขวัญเบื้องซ้าย (ไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้ามาถวายซึ่งตรงตามคำทำนายของพระพุทธองค์ว่าที่ดอยดินแดงแห่งนี้ ต่อไปจะเป็นที่ประดิษฐาน พระมหาสถูปบรรจุ ุพระบรมสารีริกธาตุ ในภายภาคหน้าพระเจ้าอุชุตะราช มีพระราชศรัทธา ได้เรียกหัวหน้าลาวจก มาเฝ้าพระราชทานทองคำจำนวนแสนกษาปณ์ ให้เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดงแก่พวกลาวจก แล้วทรงสร้าง พระสถูปขึ้น โดยนำธง ตะขาบยาว 3000 วา ไปปักไว้บนดอยตุง เมื่อหางธงปลิวไปไกลเพียงใดให้กำหนดเป็นฐาน พระสถูปเพียงนั้น ดอยดินแดงจึงได้ชื่อใหม่ว่า ดอยตุง (คำว่า ตุง แปลว่า ธง)จนถึงทุกวันนี้ การนำตุงขึ้นไปบูชาพระธาตุ นับเป็นการ “จุดประกายการเชื่อถือและศรัทธาความเชื่อความคิดเกี่ยวกับ ตุงของพุทธศาสนิกชนทั่วภาคเหนือ
ตัวอย่างคัมภีร์ใบลาน เขียนด้วยอักษรตั๋วเมือง
ประวัติความเป็นมา3 (อ้างอิงคัมภีร์ใบลานพื้นบ้าน)
ในคัมภีร์ใบลานตั๋วเมือง วัดในกลุ่มชาวล้านนา ยอง ลื้อ เขิน  เมืองยองและสิบสองปันนาต่างมีข้อมูลปรากฏในธรรมใบลานเหมือนกัน โดยกล่าวถึงพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ เกิดจากไข่ของกาเผือก(เทวดา)คู่หนึ่ง ซึ่งทำรังไว้บนต้นไม้ใหญ่ใกล้ริมแม่น้ำ ขณะที่กาเผือกออกไปหากิน เกิดลมแรง ฝนตกทำให้ไข่ตกจากรังกระจายตกและติดค้างตามที่ต่างๆ แต่ละฟองมีผู้เก็บไปเลี้ยง โดยไข่ทั้ง 5 ฟอง เกิดเป็นชายทั้งหมด
ไข่ฟองที่ 1 ไก่เก็บไปเลี้ยง คือ พระกกุสันธะ
ไข่ฟองที่
2 พญานาคเลี้ยงไว้ คือ พระโกนาคมนะ
ไข่ฟองที่
3 เต่านำไปเลี้ยง คือ พระกัสสะปะ
ไข่ฟองที่
4 แม่วัวเลี้ยงไว้ คือพระโคตมะ
ไข่ฟองที่
5 คนชักไหมนำไปเลี้ยง คือ พระอริยเมตตรัย

เมื่ออายุได้ 16 ปี ทุกพระองค์ต่างขออนุญาตผู้ที่เลี้ยงไปบวชเป็นฤๅษี ได้พบเจอกันและได้ทราบภายหลังว่าเป็นพี่น้องเดียวกัน จึงพร้อมใจกันทำตุงเป็นรูปผู้ที่เลี้ยงตามา แล้วพากันไปถวายเป็นพุทธบูชา ณ เกาะทราย ริมฝั่งที่ใกล้ต้นไม้ใหญ่ที่แม่กาทำรัง แต่ผลานิสงส์บุญกุศลที่ถวายไปไม่ถึงแม่กาเผือก ซึ่งแท้จริงอยู่ชั้นพรหมเทพ ยามนั้นท้าวพกาพรหมจึงบอกแม่กาเผือกลงจากชั้นพรหมแล้วแจ้งแถลงไขแก่ลูกทั้ง 5 แม่กาเอาตุ๋มฝ้าย (เส้นด้าย) มาริ้วฟั่นติดกับกันแล้วดึงชักตรงกลางยื่นให้แก่ลูกทั้ง 5 ต่างบูชาประทีป ผางตีดตี๋นก๋า” บูชาแล้วกลับไปจำศัลภาวนา จนสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ เรียงลำดับ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตรมะ และพระอริยเมตตรัย


credit :

ประวัติตุงล้านนา

ประเภทของตุง

ตุงที่ใช้ในงานมงคล

ตุงที่ใช้ในงานอวมงคล

จุดประสงค์ของการทำตุง

อานิสงค์ของการสร้างตุงถวาย

สืบสานวัฒนธรรมตุง-ที่มา


เรียบเรียงโดย ผาณิตไคร้มูล
http://phanit-krimoon.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำเพิ่มเติม หรือแสดงความคิดเห็น ที่นี่..