วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557

สืบสานวัฒนธรรมการใช้ตุง



สืบสานวัฒนธรรมการใช้ตุง

จาก คติความเชื่อเหล่านี้ทำให้การพบรูปลักษณ์ของตุง เป็นพุทธศิลป์สำคัญในวัดต่าง ๆ ของล้านนาอย่างหลากหลายแม้ในปัจจุบันชาวล้านนาส่วนใหญ่ยังนิยมสร้างตุงเพื่อ ใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งทางศาสนาประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ประเพณีเกี่ยวกับการตาย งานเทศกาล และเฉลิมฉลองต่าง ๆ ตามคติความเชื่อดั้งเดิม แต่แนวโน้มการใช้ตุงเริ่มเปลี่ยนไปเนื่องจากบรรดาหน่วยทั้งภาครัฐและเอกชน มักใช้ตุง ประดับตามสถานที่จัดงานต่าง ๆ เพื่อความสวยงามบางงานนำตุงไปใช้อย่างไม่เหมะสมเป็นการทำลายคติความเชื่อง ดั้งเดิมของชาวล้านนา เช่น การนำตุงไปประดับเวทีประกวดนางงาม เป็นต้น บางงานใช้ตุงปักประดับได้แต่ควรใช้ตุงให้ถูกประเภทและเหมาะสม หากไม่มีการอนุรักษ์และศึกษารูปแบบคติความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ตุงให้เข้าใจ ถ่องแท้แล้ว อนาคตการใช้ตุงในพิธีการต่าง ๆ ตามคติความเชื่อเดิมคงจะถูกดัดแปลงให้ผิดเพี้ยนไปในที่สุด

credit :

อานิสงส์ของการสร้างตุง, ทานตุง


อานิสงส์ของการสร้างตุง, ทานตุง 

จาก หลักฐาน ตำนาน นิราศ ลิลิต และพงศาวดารต่าง ๆ ได้เขียนถึงอานิสงส์ของการสร้างตุงว่าผู้ที่สร้างตุงถวายเป็นพุทธบูชาจะไม่ ตกนรก ได้เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถ้ากลับมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะได้เป็นใหญ่เป็นโต ถ้าสร้างอุทิศให้ผู้ตาย ผู้ตายก็จะพ้นจากการไปเป็นเปรตหลุดพ้นจากบาปกรรมที่ทำไว้จากอานิสงส์ดัง กล่าวนี้ทำให้ชาวล้านนานิยมสร้างตุงกันทุกชั้นวรรณะ ซึ่งรูปแบบของตุงจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับฐานะทางสังคมของเจ้าของพิธี พื้นฐานความเชื่อของสังคม วัสดุและความสามารถของคนในท้องถิ่นในการที่จะนำเอาวัสดุที่มี มาประดับตุงโดยใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ
ใน คัมภีร์ใบลานเรื่อง อานิสงส์ทานตุง ฉบับวัดแม่ตั๋ง ตำบลแม่พริก อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ก็ได้กล่าวถึงอานิสงส์การสร้างเสาตุงและเสาหงส์บูชาพระพุทธเจ้าว่าจะได้ผล บุญพ้นจากอบายภูมิไปเกิดยังสวรรค์ขึ้นดาวดึงส์ หางตุงกวัดแกว่งในยามลมพัด หากพัดแกว่งไปทางทิศตะวันออกผู้สร้างตุงก็จักได้เป็นจักรพรรดิราช หากพัดไปทิศอาคเนย์จักได้เป็นมหาเศรษฐี พัดในทิศทักษิณจักได้เป็นเทวดาชั้นมหาราชิก พัดไปทิศหรดีจัก ได้เป็นพระยาประเทศราช พัดไปทิศปัจจิมจักได้เป็นพระปัจเจกโพธิญาณ หากพัดทิศพายัพจักได้ทรงปิฏกทั้ง 3 พัดไปทิศอุตตระจักได้เป็นท้าวมหาพรหม พัดไปทิศอีสานจักได้เป็นสมเด็จอมรินทราธิราช หากพัดลงด้านล่างจักได้เป็นใหญ่ในโลกนี้ หากพัดขึ้นบนอากาศจักได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งและได้พบพระศรีอาริยเมตตรัย


credit :

ประวัติตุงล้านนา

ประเภทของตุง

ตุงที่ใช้ในงานมงคล

ตุงที่ใช้ในงานอวมงคล

จุดประสงค์ของการทำตุง

อานิสงค์ของการสร้างตุงถวาย

สืบสานวัฒนธรรมตุง-ที่มา


เรียบเรียงโดย ผาณิตไคร้มูล
http://phanit-krimoon.blogspot.com

จุดประสงค์ของการทำตุงของชาวล้านนา



จุดประสงค์ของการทำตุงของชาวล้านนา คือ

1) ถวายเป็นพุทธบูชา สร้างให้แก่ตนเองและผู้ล่วงลับไปแล้ว จะได้พ้นจากเวรกรรมและได้ขึ้นสวรรค์

2) ประดับประดาศาสนสถาน ศาสนาวัตถุ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง เช่น งานปอยหลวง เป็นต้น

3) เพื่อสะเดาะเคราะห์ ขจัดภัยพิบัติต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป โดยเฉพาะภัยที่เชื่อว่าเกิดจากภูตผีปีศาจ หรือบาปกรรมทั้งหลาย

4) ใช้ในทางไสยศาสตร์ ทำเสน่ห์บูชาผีสางเทวดา

5) ใช้ในพิธีกรรมและเทศกาลต่าง ๆ เช่น พิธีสวดมนต์ พิธีสืบชาตา การขึ้นทาวทั้งสี่ การตั้งธรรมหลวง งานปอยหลวง ทอดกฐิน ประเพณีสงกรานต์

credit :

ประวัติตุงล้านนา

ประเภทของตุง

ตุงที่ใช้ในงานมงคล

ตุงที่ใช้ในงานอวมงคล

จุดประสงค์ของการทำตุง

อานิสงค์ของการสร้างตุงถวาย

สืบสานวัฒนธรรมตุง-ที่มา


เรียบเรียงโดย ผาณิตไคร้มูล
http://phanit-krimoon.blogspot.com

ช่อ/ตุงชนิดหนึ่งแต่มีขนาดเล็ก

4.ช่อ/ตุงชนิดหนึ่งแต่มีขนาดเล็ก เรียกชื่อตามลักษณะการใช้งานหรือรูปทรง มี 2 แบบ
  1. ช่อน้อย เป็นช่อขนาดเล็ก ใช้ปักเจดีย์ในเทศกาลสงกรานต์, ในการสะเดาะเคราะห์, การสืบชาตา, การขึ้นท้าวทั้งสี่, การถาวายเป็นพุทธบูชา 
  2. ช่อช้าง ทำด้วยผ้าแพรสีต่าง ๆ ปักดิ้นอย่างสวยงามใช้ถือนำหน้าครัวทาง หรือใช้ปักสลับกับตุงไชยในงานปอยหลวง

ตุงที่ใช้ประกอบการเทศน์


3.ตุงที่ใช้ประกอบการเทศน์ จะใช้ประกอบในพิธีงานเทศกาล ตั้งธรรมหลวง ในเดือนยี่เพ็ง (วันเพ็ญเดือนสิบสอง) หรืองานตั้งธรรมหลวงเดือนสี่เพ็ง (วันเพ็ญเดือนยี่) โดยการปักตุงดังกล่าวนี้ในกัณฑ์เทศน์ หรือประดับอาคารที่มีเทศน์ เช่น โบสถ์ วิหาร หรือศาลาบาตร เป็นต้น ทั้งนี้ตามคติความเชื่อองคนในล้านนาทำตุงใช้ประกอบการเทศน์ขึ้น ก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเชื่อว่าจะได้อานิสงส์มากตุงที่ใช้ประกอบการเทศน์สอดคล้องกับการเทศน์ธรรมเรื่องต่าง ๆ ในทศชาติ ดังต่อไปนี้

1) ตุงดิน                ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์แรกคือ เตมิยชาดก

2) ตุงทราย             ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 2 คือ ชนกกุมาร

3) ตุงไม้                 ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 3 คือ สุวรรณสาม

4) ตุงจีน                 ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 4 คือ เนมิราช

5) ตุงเหียก              ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 5 คือ มโหสถ

6) ตุงเหล็ก              ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 6 คือ ภูริทัต

7) ตุงตอง               ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 7 คือ จันทกุมารชาดก

8) ตุงข้าวเปลือก     ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 8 คือ นารถชาดก

9) ตุงข้าวสาร          ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 9 คือ วิธูรบัณฑิต

10) ตุงเงิน               ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 10 คือ เวสสันดร

11)ตุงคำ                 ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์เรื่อง สิตธาตถ์หรือสิตาตถ์ออกบวช   



ตุงที่ใช้ในการประกอบพิธีมงคล

1.ตุงที่ใช้ในการประกอบพิธีมงคล ที่ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ที่มีงานสมโภชฉลองถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความสวยงาม เป็นเครื่องหมายนำทางไปสู่บริเวณงาน และใช้ในงานมงคลต่าง ๆ มีดังนี้             
1) ตุงไชย (ตุงไจย) เป็นตุงขนาดใหญ่ รูปสี่เหลี่ยมผืนยาว ถือว่ายิ่งยาวยิ่งมีอานิสงค์มาก ตุง ไชยทำด้วยผ้า เส้นฝ้าย เส้นไหม ซึ่งจะทอเป็นใยโปร่ง มีการตกแต่งประดับประดา บ้างก็ทักทอเป็นลวดลายต่าง ๆ อย่างสวยงาม ถ้าผืนยาวมากมักใช้ไม่ไผ่ลำโตทำเป็นเสาตุงใช้ในงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ชาวบ้านจะช่วยกันทำตุงไชยมาปักเรียงรายตามสองข้างทางที่จะเข้าสู่วัด การที่นำตุงไชยมาปักเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ นอกจากปักได้สองข้างทางเข้าวัดแล้ว ยังมีการประดับประดาไว้รอบศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ที่ทำพิธีฉลองกันด้วย
2) ตุงใย (ตุงใยแมงมุม) คือ ตุงที่ทำด้วยเส้นด้ายหรือเส้นไหม ผูกกันคล้ายใยแมงมุม เพื่อใช้ในพิธีสำคัญทางศาสนาเช่นเดียวกับตุงไชย หรือแขวนไว้ในวิหารหน้าพระประธานถวายเป็นพุทธบูชา การทำตุงชนิดนี้ขึ้นอยู่กับความนิยมของแต่ละหมู่บ้าน
3) ตุงกระด้าง เป็น ตุงที่ทำด้วยวัสดุคงรูป ผืนตุงทำด้วยไม้แกะสลักบ้าง ปูนปั้นบ้าง หรือบางครั้งก็เป็นโลหะแผ่นฉลุลาย นอกจากนี้ยังมีการประดับตกแต่งด้วยกระจกปั้นปูนเป็นลวดลายต่าง ๆ หรือฉลุเป็นลวดลายประดับบนผืนตุง ตุงกระด้างนี้ ผู้สร้างมักเป็นผู้บรรดาศักดิ์สูงหรือมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอเพราะวัสดุที่ ใช้ตั้งแต่ผืนธงจนการประดับตกแต่งต่างมีราคาสูง และต้องใช้ช่างฝีมือที่ประณีต ซึ่งการสร้างก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
4) ตุงขอนงวงช้าง หรือตุงขอนก๋ม มีลักษณะเป็นวงแหวน ทำด้วยไม้ไผ่ มัดโยงกันเป็นปล้องหุ้มด้วยกระดาษสีต่าง ๆ มักผูกติดไว้บริเวณหน้าพระประธาน
5) ตุงตัวเปิ้ง คือตุงประปีเกิด เป็นตุงทำด้วยกระดาษ หรือผ้าทอ, พิมพ์หรือเขียนเป็นรูปสัตว์ประจำปีเกิด นิยมปักบนเจดีย์ทรายในเทศกาลสงกรานต์ หรือแขวนบริเวณหน้าพระประธาน
6) ตุงราว คือตุงขนาดเล็ก มักทำด้วยกระดาษฉลุเป็นลวดลายบนผืนตุง รูปทรงสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมแบบยาว บางครั้งตัดเป็นรูปคล้ายรูปคน ใช้แขวนเชือกเป็นแนวยาวสลับสีกัน โยงตามเสาของศาลาธรรมหรือปรำพิธี หรือในวิหารที่มีพิธีกรรมทางศาสนา
7) ตุงตะขาบ ตุงจระเข้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีรูปตะขาบหรือจระเข้ อยู่บนผืนตุงใช้ในงานทอดกฐิน
8) ตุงดอกบ้อง หรือตุงไส้หมู เป็นตุงที่มีรูปร่างทรงจอมแห ทำจากกระดาษสีต่างผูกติดกับกิ่งไม้ หรือก้านไม้ไผ่เล็ก ๆ ตุงนี้ใช้ในเทศกาลสงกรานต์โดยปักบนกองเจดีย์ทราย หรือประดับเครื่องไทยทานต่าง ๆ
9) ตุงค่าคิง เป็นตุงที่มีรูปร่างยาวแคบ ความยาวเท่ากับความสูงองผู้ทำพิธี ผืนตุงทำด้วยกระดาษสีขาว อาจตกแต่งลวดลายด้วยกระดาษเงิน กระดาษทอง ตุงค่าคิงที่ใช้ในงานขึ้นบ้านใหม่ที่มีพิธีสืบชาตาพิธีสะเดาะเคราะห์ หรือปักบูชากองเจดีย์ทราย
10) ตุงพระบด,พระบฏ,พระบฎ เป็นตุงทที่มีลักษณะเป็นผือผ้าใบหรือกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดต่าง ๆ ส่วนมากประมาณ 80 คูณ 100 เซนติเมตร กรอบทั้งสี่ด้านทำด้วยไม้ทำให้ตึง ตุงพระบฎจะเป็นรูปพระพุทธรูปประทับยืน ปางลีลา หรือบางเปิดโลก ลักษณะของการใช้งาน ตุงพระบฎใช้ประดับไว้ด้านหลังของพระประธานในโบสถ์ นอกจากจะใช้ประดับสองข้างพระประธานแล้ว บางแห่งใช้กับพิธีกรรมความเชื่ออีกด้วย เช่น ตุงพระบฏ ที่ใช้ในพิธีเลี้ยงผีปู่แวะย่าแสะที่บ้านแม่เหียะ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

credit :

ประวัติตุงล้านนา

ประเภทของตุง

ตุงที่ใช้ในงานมงคล

ตุงที่ใช้ในงานอวมงคล

จุดประสงค์ของการทำตุง

อานิสงค์ของการสร้างตุงถวาย

สืบสานวัฒนธรรมตุง-ที่มา


เรียบเรียงโดย ผาณิตไคร้มูล
http://phanit-krimoon.blogspot.com

ตุงที่ใช้ในการประกอบพิธีงานอวมงคล



1. ตุงที่ใช้ในการประกอบพิธีงานอวมงคล 

1) ตุงสามหาง เป็นตุงที่อาจเรียกชื่อว่า ตุงรูปคนหรือตุงผีตาย ใช้สำหรับนำหน้าศพในสู่สุสานหรือเชิงตะกอน เป็นตุงที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อรวมลักษณะแทนตัวคนเราไว้ด้วยกัน คือส่วนหัวและลำตัวคือส่วนที่กางออกเป็นแขนขาซึ่งบางท่านกล่าวว่าเป็นคติ นิยมเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด เพื่อเน้นธรรมานุสติถึงความหลุดพ้น ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตุงชนิดนี้บางท้องที่ (ลำปาง) เรียกตุงฮ่างคน หรือตุงอ่องแอ่ง 

2) ตุงแดง, ตุงผีตายโหง, ตุงค้างแดง มีความยาว 4-6 ศอก กว้างประมาณ 1 คืบเศษๆ แบ่งความยาวออกเป็น 4 ท่อน ชายด้ายล่างทำเป็น สามชาย ประดับตกแต่งให้สวยงาม การใช้งานใช้ในพิธีสูตรถอนศพที่ตายผิดปกติ เช่นตายเพราะอุบัติเหตุต่าง ๆ จะใช้ตุงปักไว้บริเวณที่ตายก่อเจดีย์ทรายเท่ากับอายุของผู้ตาย ปักช่อน้อยบนเจดีย์ทรายให้ครบ เมื่อเห็นตุงแดงและก่อทรายช่อน้อย ณ จุดใด ก็หมายถึงว่าบริเวณดังกล่าวมีคนตายไม่ดีไม่งาม 

3) ตุงเหล็ก, ตุงตอง ทำด้วยแผ่นสังกะสีหรือแผ่นทองเหลืองขนาดเล็กยาวประมาณ 1 คืบ กว้างประมาณ 2 นิ้ว มีคันตุงทำจากเส้นลวดหรือไม้ไผ่ก็ได้ ส่วนมากจะทำอย่างละ 108 อัน มัดติดเป็นพวงโดยทำฐานตั้งไว้ หรือบางแห่งจะวางไว้บนโลงศพ เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ชาวบ้านมักจะนำมาไว้ที่วัด ตามฐานชุกชี เมื่อจำเป็นต้องใช้งานอีก ก็ไม่ต้องทำขึ้นมาใหม่ 

4) ตุงขอนนางผาน มีลักษณะเป็นตุงขนาดเล็กประดับอยู่ที่ปลายทั้งสองข้างของก้นไม้เล็ก ๆ ที่ติดขวางบนตุงผืนใหญ่ที่เป็นระยะ ๆ บางครั้งทำเป็นรูปทรงคล้ายพู่ห้อย ตุงนี้ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายที่ฐานะยากจนหรือไร้ญาติ

credit :

ประวัติตุงล้านนา

ประเภทของตุง

ตุงที่ใช้ในงานมงคล

ตุงที่ใช้ในงานอวมงคล

จุดประสงค์ของการทำตุง

อานิสงค์ของการสร้างตุงถวาย

สืบสานวัฒนธรรมตุง-ที่มา


เรียบเรียงโดย ผาณิตไคร้มูล
http://phanit-krimoon.blogspot.com

ประเภทของตุงล้านนา



ตุงจำแนกตามการใช้งาน แบ่งได้ 4 ประเภท คือ

1. ตุงใช้ในการประกอบพิธีมงคล
2. ตุงใช้ในการประกอบพิธีอวมงคล
3. ตุงที่ใช้ประกอบการเทศน์
4. ช่อ(จ่อ) หรือ ตุงขนาดเล็ก

ประวัติตุงล้านนา

ประวัติตุงล้านนา


“ตุง” คืออะไร
“ตุง” หรือ “จ่อ” เป็นภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือ ที่ชาวล้านนาใช้เรียกชื่อลักษณะของ “ธง” ชนิดหนึ่ง ตรงกับภาษาบาลี คำว่า “ปฎาก” หรือ “ปฎากะ” มีความหมายว่า “ธงตะขาบ”  มีลักษณะเป็นผ้าหรือกระดาษผืนยาวตกแต่งลวดลายและสีสันแตกต่างกันไปตามประเภทการใช้งาน และนำไปผูกติดไว้กับปลายไม้หรือเสาตุงซึ่งมีหลายขนาด

เมืองหริภุญชัยในอดีต สมัยที่มีกำแพงเมืองโบราณที่สมบูรณ์
ประวัติความเป็นมา1 (อ้างอิงแหล่งที่มาของตุง)
มีตำนานกล่าวอ้างถึงเมื่อครั้งสมัยหริภุญชัย ในช่วงทศวรรษที่ 17 พบว่าเมืองหริภุญชัยเคยเกิดอหิวาตกโรคระบาดอย่างหนัก ผู้คนในเมืองต่างพากันหนีไปอาศัยที่เมืองสะเทิง(มอญ) เมื่ออหิวาตกโรคหายไปชาวเมืองจึงกลับมาอาศัยอยู่ที่เดิม นักประวัติศาสตร์จึงคาดการณ์ว่า วัฒนธรรมการถวายตุงที่มีเสาหงส์นั้น ชาวหริภุญชัยอาจจะรับมาจากชาวมอญมาด้วย ซึ่งเราพบว่าหงส์แบบล้านนามีความสำคัญมาก มีหลักฐานปรากฏเป็นส่วนประกอบกับตุงล้านนาชนิดหนึ่ง คือ “ตุงกระด้าง” ซึ่งมีลักษณะรูปทรงเหมือนกัน และลักษณะธงตะขาบของชาวรามัญ(มอญ) ก็มีความคล้ายคลึงกับ “ตุงไชย”(ตุงไจย) ของชาวล้านนาด้วยเช่นกัน


วัดพระธาตุดอยตุง
ประวัติความเป็นมา2 (อ้างอิงความเชื่อทางพุทธศาสนา)
ภูมิหลังประวัติความเป็นมาของตุง พระพุทธศาสนามีอิทธิพล ความเชื่อของคนเมืองเป็นอย่างมาก คนเมือง คนยอง คนลื้อ คนเขินและมอญ ต่างนับถือศาสนาพุทธเดียวกัน มีวิถีชีวิตเดียวกันคือ วิถีชาวพุทธเชื่อว่า การทำตุงถวายเป็นพุทธบูชา เป็นสิ่งปรารถนาสูงสุด ได้บุญกุศลยิ่งใหญ่ซึ่งจะนำพาตนเองขึ้นสวรรค์ เพราะตุง เป็นปฐมเจดีย์แห่งแรก ในล้านนาหรือคนเมืองเหนือ มีชื่อเรียกว่า พระบรมธาตุดอยตุง  ซึ่งเดิมสถานที่ตั้งพระบรมธาตุดอยตุง มีชื่อว่า ดอยดินแดง อยู่บน เขาสามเส้น ของพวกลาวจก ต่อมาสมัยพระเจ้าอุชุตะราช รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์สิงหนวัต ผู้ครองนครโยนก นาคนคร เมื่อปี พ.ศ. 1452 พระมหากัสสป ได้นำพระบรมสารีริกธาตุในส่วนของพระรากขวัญเบื้องซ้าย (ไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้ามาถวายซึ่งตรงตามคำทำนายของพระพุทธองค์ว่าที่ดอยดินแดงแห่งนี้ ต่อไปจะเป็นที่ประดิษฐาน พระมหาสถูปบรรจุ ุพระบรมสารีริกธาตุ ในภายภาคหน้าพระเจ้าอุชุตะราช มีพระราชศรัทธา ได้เรียกหัวหน้าลาวจก มาเฝ้าพระราชทานทองคำจำนวนแสนกษาปณ์ ให้เป็นค่าที่ดินบริเวณดอยดินแดงแก่พวกลาวจก แล้วทรงสร้าง พระสถูปขึ้น โดยนำธง ตะขาบยาว 3000 วา ไปปักไว้บนดอยตุง เมื่อหางธงปลิวไปไกลเพียงใดให้กำหนดเป็นฐาน พระสถูปเพียงนั้น ดอยดินแดงจึงได้ชื่อใหม่ว่า ดอยตุง (คำว่า ตุง แปลว่า ธง)จนถึงทุกวันนี้ การนำตุงขึ้นไปบูชาพระธาตุ นับเป็นการ “จุดประกายการเชื่อถือและศรัทธาความเชื่อความคิดเกี่ยวกับ ตุงของพุทธศาสนิกชนทั่วภาคเหนือ
ตัวอย่างคัมภีร์ใบลาน เขียนด้วยอักษรตั๋วเมือง
ประวัติความเป็นมา3 (อ้างอิงคัมภีร์ใบลานพื้นบ้าน)
ในคัมภีร์ใบลานตั๋วเมือง วัดในกลุ่มชาวล้านนา ยอง ลื้อ เขิน  เมืองยองและสิบสองปันนาต่างมีข้อมูลปรากฏในธรรมใบลานเหมือนกัน โดยกล่าวถึงพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ เกิดจากไข่ของกาเผือก(เทวดา)คู่หนึ่ง ซึ่งทำรังไว้บนต้นไม้ใหญ่ใกล้ริมแม่น้ำ ขณะที่กาเผือกออกไปหากิน เกิดลมแรง ฝนตกทำให้ไข่ตกจากรังกระจายตกและติดค้างตามที่ต่างๆ แต่ละฟองมีผู้เก็บไปเลี้ยง โดยไข่ทั้ง 5 ฟอง เกิดเป็นชายทั้งหมด
ไข่ฟองที่ 1 ไก่เก็บไปเลี้ยง คือ พระกกุสันธะ
ไข่ฟองที่
2 พญานาคเลี้ยงไว้ คือ พระโกนาคมนะ
ไข่ฟองที่
3 เต่านำไปเลี้ยง คือ พระกัสสะปะ
ไข่ฟองที่
4 แม่วัวเลี้ยงไว้ คือพระโคตมะ
ไข่ฟองที่
5 คนชักไหมนำไปเลี้ยง คือ พระอริยเมตตรัย

เมื่ออายุได้ 16 ปี ทุกพระองค์ต่างขออนุญาตผู้ที่เลี้ยงไปบวชเป็นฤๅษี ได้พบเจอกันและได้ทราบภายหลังว่าเป็นพี่น้องเดียวกัน จึงพร้อมใจกันทำตุงเป็นรูปผู้ที่เลี้ยงตามา แล้วพากันไปถวายเป็นพุทธบูชา ณ เกาะทราย ริมฝั่งที่ใกล้ต้นไม้ใหญ่ที่แม่กาทำรัง แต่ผลานิสงส์บุญกุศลที่ถวายไปไม่ถึงแม่กาเผือก ซึ่งแท้จริงอยู่ชั้นพรหมเทพ ยามนั้นท้าวพกาพรหมจึงบอกแม่กาเผือกลงจากชั้นพรหมแล้วแจ้งแถลงไขแก่ลูกทั้ง 5 แม่กาเอาตุ๋มฝ้าย (เส้นด้าย) มาริ้วฟั่นติดกับกันแล้วดึงชักตรงกลางยื่นให้แก่ลูกทั้ง 5 ต่างบูชาประทีป ผางตีดตี๋นก๋า” บูชาแล้วกลับไปจำศัลภาวนา จนสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ เรียงลำดับ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตรมะ และพระอริยเมตตรัย


credit :

ประวัติตุงล้านนา

ประเภทของตุง

ตุงที่ใช้ในงานมงคล

ตุงที่ใช้ในงานอวมงคล

จุดประสงค์ของการทำตุง

อานิสงค์ของการสร้างตุงถวาย

สืบสานวัฒนธรรมตุง-ที่มา


เรียบเรียงโดย ผาณิตไคร้มูล
http://phanit-krimoon.blogspot.com