วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ออกแบบโลโก้ วาดภาพการ์ตูน สกรีนเสื้อ


รับออกแบบโลโก้ วาดภาพการ์ตูน ภาพกราฟิก ราคาเริ่มต้น 300 บ.

line ppp.art  0866721640

รับจ้างวาดรูปการ์ตูน /ตกแต่งภาพ/รีทัชภาพ/ดราฟรูป/วาดภาพเหมือน/ภาพลายเส้น/ภาพล้อเลียน/ออกแบบโลโก้/โปสเตอร์/นามบัตร/เมนูอาหาร/แผ่นพับ/ป้ายโฆษณา และสื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด /สกรีนเสื้อราคาถูก


 Drawing ขนาด A4, A3 ราคาเริ่มต้น 300-1000 บ.



































รับออกแบบเมนูอาหาร นามบัตร ป้ายโฆษณา สื่อสิ่งพิมพ์ (ราคา โปรดสอบถาม)




วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557

สืบสานวัฒนธรรมการใช้ตุง



สืบสานวัฒนธรรมการใช้ตุง

จาก คติความเชื่อเหล่านี้ทำให้การพบรูปลักษณ์ของตุง เป็นพุทธศิลป์สำคัญในวัดต่าง ๆ ของล้านนาอย่างหลากหลายแม้ในปัจจุบันชาวล้านนาส่วนใหญ่ยังนิยมสร้างตุงเพื่อ ใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งทางศาสนาประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ประเพณีเกี่ยวกับการตาย งานเทศกาล และเฉลิมฉลองต่าง ๆ ตามคติความเชื่อดั้งเดิม แต่แนวโน้มการใช้ตุงเริ่มเปลี่ยนไปเนื่องจากบรรดาหน่วยทั้งภาครัฐและเอกชน มักใช้ตุง ประดับตามสถานที่จัดงานต่าง ๆ เพื่อความสวยงามบางงานนำตุงไปใช้อย่างไม่เหมะสมเป็นการทำลายคติความเชื่อง ดั้งเดิมของชาวล้านนา เช่น การนำตุงไปประดับเวทีประกวดนางงาม เป็นต้น บางงานใช้ตุงปักประดับได้แต่ควรใช้ตุงให้ถูกประเภทและเหมาะสม หากไม่มีการอนุรักษ์และศึกษารูปแบบคติความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ตุงให้เข้าใจ ถ่องแท้แล้ว อนาคตการใช้ตุงในพิธีการต่าง ๆ ตามคติความเชื่อเดิมคงจะถูกดัดแปลงให้ผิดเพี้ยนไปในที่สุด

credit :

อานิสงส์ของการสร้างตุง, ทานตุง


อานิสงส์ของการสร้างตุง, ทานตุง 

จาก หลักฐาน ตำนาน นิราศ ลิลิต และพงศาวดารต่าง ๆ ได้เขียนถึงอานิสงส์ของการสร้างตุงว่าผู้ที่สร้างตุงถวายเป็นพุทธบูชาจะไม่ ตกนรก ได้เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถ้ากลับมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะได้เป็นใหญ่เป็นโต ถ้าสร้างอุทิศให้ผู้ตาย ผู้ตายก็จะพ้นจากการไปเป็นเปรตหลุดพ้นจากบาปกรรมที่ทำไว้จากอานิสงส์ดัง กล่าวนี้ทำให้ชาวล้านนานิยมสร้างตุงกันทุกชั้นวรรณะ ซึ่งรูปแบบของตุงจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับฐานะทางสังคมของเจ้าของพิธี พื้นฐานความเชื่อของสังคม วัสดุและความสามารถของคนในท้องถิ่นในการที่จะนำเอาวัสดุที่มี มาประดับตุงโดยใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ
ใน คัมภีร์ใบลานเรื่อง อานิสงส์ทานตุง ฉบับวัดแม่ตั๋ง ตำบลแม่พริก อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง ก็ได้กล่าวถึงอานิสงส์การสร้างเสาตุงและเสาหงส์บูชาพระพุทธเจ้าว่าจะได้ผล บุญพ้นจากอบายภูมิไปเกิดยังสวรรค์ขึ้นดาวดึงส์ หางตุงกวัดแกว่งในยามลมพัด หากพัดแกว่งไปทางทิศตะวันออกผู้สร้างตุงก็จักได้เป็นจักรพรรดิราช หากพัดไปทิศอาคเนย์จักได้เป็นมหาเศรษฐี พัดในทิศทักษิณจักได้เป็นเทวดาชั้นมหาราชิก พัดไปทิศหรดีจัก ได้เป็นพระยาประเทศราช พัดไปทิศปัจจิมจักได้เป็นพระปัจเจกโพธิญาณ หากพัดทิศพายัพจักได้ทรงปิฏกทั้ง 3 พัดไปทิศอุตตระจักได้เป็นท้าวมหาพรหม พัดไปทิศอีสานจักได้เป็นสมเด็จอมรินทราธิราช หากพัดลงด้านล่างจักได้เป็นใหญ่ในโลกนี้ หากพัดขึ้นบนอากาศจักได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งและได้พบพระศรีอาริยเมตตรัย


credit :

ประวัติตุงล้านนา

ประเภทของตุง

ตุงที่ใช้ในงานมงคล

ตุงที่ใช้ในงานอวมงคล

จุดประสงค์ของการทำตุง

อานิสงค์ของการสร้างตุงถวาย

สืบสานวัฒนธรรมตุง-ที่มา


เรียบเรียงโดย ผาณิตไคร้มูล
http://phanit-krimoon.blogspot.com

จุดประสงค์ของการทำตุงของชาวล้านนา



จุดประสงค์ของการทำตุงของชาวล้านนา คือ

1) ถวายเป็นพุทธบูชา สร้างให้แก่ตนเองและผู้ล่วงลับไปแล้ว จะได้พ้นจากเวรกรรมและได้ขึ้นสวรรค์

2) ประดับประดาศาสนสถาน ศาสนาวัตถุ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง เช่น งานปอยหลวง เป็นต้น

3) เพื่อสะเดาะเคราะห์ ขจัดภัยพิบัติต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป โดยเฉพาะภัยที่เชื่อว่าเกิดจากภูตผีปีศาจ หรือบาปกรรมทั้งหลาย

4) ใช้ในทางไสยศาสตร์ ทำเสน่ห์บูชาผีสางเทวดา

5) ใช้ในพิธีกรรมและเทศกาลต่าง ๆ เช่น พิธีสวดมนต์ พิธีสืบชาตา การขึ้นทาวทั้งสี่ การตั้งธรรมหลวง งานปอยหลวง ทอดกฐิน ประเพณีสงกรานต์

credit :

ประวัติตุงล้านนา

ประเภทของตุง

ตุงที่ใช้ในงานมงคล

ตุงที่ใช้ในงานอวมงคล

จุดประสงค์ของการทำตุง

อานิสงค์ของการสร้างตุงถวาย

สืบสานวัฒนธรรมตุง-ที่มา


เรียบเรียงโดย ผาณิตไคร้มูล
http://phanit-krimoon.blogspot.com

ช่อ/ตุงชนิดหนึ่งแต่มีขนาดเล็ก

4.ช่อ/ตุงชนิดหนึ่งแต่มีขนาดเล็ก เรียกชื่อตามลักษณะการใช้งานหรือรูปทรง มี 2 แบบ
  1. ช่อน้อย เป็นช่อขนาดเล็ก ใช้ปักเจดีย์ในเทศกาลสงกรานต์, ในการสะเดาะเคราะห์, การสืบชาตา, การขึ้นท้าวทั้งสี่, การถาวายเป็นพุทธบูชา 
  2. ช่อช้าง ทำด้วยผ้าแพรสีต่าง ๆ ปักดิ้นอย่างสวยงามใช้ถือนำหน้าครัวทาง หรือใช้ปักสลับกับตุงไชยในงานปอยหลวง

ตุงที่ใช้ประกอบการเทศน์


3.ตุงที่ใช้ประกอบการเทศน์ จะใช้ประกอบในพิธีงานเทศกาล ตั้งธรรมหลวง ในเดือนยี่เพ็ง (วันเพ็ญเดือนสิบสอง) หรืองานตั้งธรรมหลวงเดือนสี่เพ็ง (วันเพ็ญเดือนยี่) โดยการปักตุงดังกล่าวนี้ในกัณฑ์เทศน์ หรือประดับอาคารที่มีเทศน์ เช่น โบสถ์ วิหาร หรือศาลาบาตร เป็นต้น ทั้งนี้ตามคติความเชื่อองคนในล้านนาทำตุงใช้ประกอบการเทศน์ขึ้น ก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเชื่อว่าจะได้อานิสงส์มากตุงที่ใช้ประกอบการเทศน์สอดคล้องกับการเทศน์ธรรมเรื่องต่าง ๆ ในทศชาติ ดังต่อไปนี้

1) ตุงดิน                ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์แรกคือ เตมิยชาดก

2) ตุงทราย             ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 2 คือ ชนกกุมาร

3) ตุงไม้                 ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 3 คือ สุวรรณสาม

4) ตุงจีน                 ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 4 คือ เนมิราช

5) ตุงเหียก              ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 5 คือ มโหสถ

6) ตุงเหล็ก              ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 6 คือ ภูริทัต

7) ตุงตอง               ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 7 คือ จันทกุมารชาดก

8) ตุงข้าวเปลือก     ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 8 คือ นารถชาดก

9) ตุงข้าวสาร          ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 9 คือ วิธูรบัณฑิต

10) ตุงเงิน               ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์ที่ 10 คือ เวสสันดร

11)ตุงคำ                 ใช้ประกอบการเทศน์กัณฑ์เรื่อง สิตธาตถ์หรือสิตาตถ์ออกบวช   



ตุงที่ใช้ในการประกอบพิธีมงคล

1.ตุงที่ใช้ในการประกอบพิธีมงคล ที่ใช้ประดับตกแต่งสถานที่ที่มีงานสมโภชฉลองถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความสวยงาม เป็นเครื่องหมายนำทางไปสู่บริเวณงาน และใช้ในงานมงคลต่าง ๆ มีดังนี้             
1) ตุงไชย (ตุงไจย) เป็นตุงขนาดใหญ่ รูปสี่เหลี่ยมผืนยาว ถือว่ายิ่งยาวยิ่งมีอานิสงค์มาก ตุง ไชยทำด้วยผ้า เส้นฝ้าย เส้นไหม ซึ่งจะทอเป็นใยโปร่ง มีการตกแต่งประดับประดา บ้างก็ทักทอเป็นลวดลายต่าง ๆ อย่างสวยงาม ถ้าผืนยาวมากมักใช้ไม่ไผ่ลำโตทำเป็นเสาตุงใช้ในงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ชาวบ้านจะช่วยกันทำตุงไชยมาปักเรียงรายตามสองข้างทางที่จะเข้าสู่วัด การที่นำตุงไชยมาปักเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ นอกจากปักได้สองข้างทางเข้าวัดแล้ว ยังมีการประดับประดาไว้รอบศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ที่ทำพิธีฉลองกันด้วย
2) ตุงใย (ตุงใยแมงมุม) คือ ตุงที่ทำด้วยเส้นด้ายหรือเส้นไหม ผูกกันคล้ายใยแมงมุม เพื่อใช้ในพิธีสำคัญทางศาสนาเช่นเดียวกับตุงไชย หรือแขวนไว้ในวิหารหน้าพระประธานถวายเป็นพุทธบูชา การทำตุงชนิดนี้ขึ้นอยู่กับความนิยมของแต่ละหมู่บ้าน
3) ตุงกระด้าง เป็น ตุงที่ทำด้วยวัสดุคงรูป ผืนตุงทำด้วยไม้แกะสลักบ้าง ปูนปั้นบ้าง หรือบางครั้งก็เป็นโลหะแผ่นฉลุลาย นอกจากนี้ยังมีการประดับตกแต่งด้วยกระจกปั้นปูนเป็นลวดลายต่าง ๆ หรือฉลุเป็นลวดลายประดับบนผืนตุง ตุงกระด้างนี้ ผู้สร้างมักเป็นผู้บรรดาศักดิ์สูงหรือมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอเพราะวัสดุที่ ใช้ตั้งแต่ผืนธงจนการประดับตกแต่งต่างมีราคาสูง และต้องใช้ช่างฝีมือที่ประณีต ซึ่งการสร้างก็เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
4) ตุงขอนงวงช้าง หรือตุงขอนก๋ม มีลักษณะเป็นวงแหวน ทำด้วยไม้ไผ่ มัดโยงกันเป็นปล้องหุ้มด้วยกระดาษสีต่าง ๆ มักผูกติดไว้บริเวณหน้าพระประธาน
5) ตุงตัวเปิ้ง คือตุงประปีเกิด เป็นตุงทำด้วยกระดาษ หรือผ้าทอ, พิมพ์หรือเขียนเป็นรูปสัตว์ประจำปีเกิด นิยมปักบนเจดีย์ทรายในเทศกาลสงกรานต์ หรือแขวนบริเวณหน้าพระประธาน
6) ตุงราว คือตุงขนาดเล็ก มักทำด้วยกระดาษฉลุเป็นลวดลายบนผืนตุง รูปทรงสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมแบบยาว บางครั้งตัดเป็นรูปคล้ายรูปคน ใช้แขวนเชือกเป็นแนวยาวสลับสีกัน โยงตามเสาของศาลาธรรมหรือปรำพิธี หรือในวิหารที่มีพิธีกรรมทางศาสนา
7) ตุงตะขาบ ตุงจระเข้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีรูปตะขาบหรือจระเข้ อยู่บนผืนตุงใช้ในงานทอดกฐิน
8) ตุงดอกบ้อง หรือตุงไส้หมู เป็นตุงที่มีรูปร่างทรงจอมแห ทำจากกระดาษสีต่างผูกติดกับกิ่งไม้ หรือก้านไม้ไผ่เล็ก ๆ ตุงนี้ใช้ในเทศกาลสงกรานต์โดยปักบนกองเจดีย์ทราย หรือประดับเครื่องไทยทานต่าง ๆ
9) ตุงค่าคิง เป็นตุงที่มีรูปร่างยาวแคบ ความยาวเท่ากับความสูงองผู้ทำพิธี ผืนตุงทำด้วยกระดาษสีขาว อาจตกแต่งลวดลายด้วยกระดาษเงิน กระดาษทอง ตุงค่าคิงที่ใช้ในงานขึ้นบ้านใหม่ที่มีพิธีสืบชาตาพิธีสะเดาะเคราะห์ หรือปักบูชากองเจดีย์ทราย
10) ตุงพระบด,พระบฏ,พระบฎ เป็นตุงทที่มีลักษณะเป็นผือผ้าใบหรือกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดต่าง ๆ ส่วนมากประมาณ 80 คูณ 100 เซนติเมตร กรอบทั้งสี่ด้านทำด้วยไม้ทำให้ตึง ตุงพระบฎจะเป็นรูปพระพุทธรูปประทับยืน ปางลีลา หรือบางเปิดโลก ลักษณะของการใช้งาน ตุงพระบฎใช้ประดับไว้ด้านหลังของพระประธานในโบสถ์ นอกจากจะใช้ประดับสองข้างพระประธานแล้ว บางแห่งใช้กับพิธีกรรมความเชื่ออีกด้วย เช่น ตุงพระบฏ ที่ใช้ในพิธีเลี้ยงผีปู่แวะย่าแสะที่บ้านแม่เหียะ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

credit :

ประวัติตุงล้านนา

ประเภทของตุง

ตุงที่ใช้ในงานมงคล

ตุงที่ใช้ในงานอวมงคล

จุดประสงค์ของการทำตุง

อานิสงค์ของการสร้างตุงถวาย

สืบสานวัฒนธรรมตุง-ที่มา


เรียบเรียงโดย ผาณิตไคร้มูล
http://phanit-krimoon.blogspot.com